บริษัท ไทย ลีก จำกัด ขอแจ้งผลการพิจาณาใบอนุญาตสโมสร หรือ คลับไลเซนซิ่ง (Club Licensing) ที่กำหนดมาตรฐาน โดย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ AFC ในปีฤดูกาล 2023/24 เพื่อเป็นมาตรฐานของสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละระดับให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เอเอฟซีและสมาคมฯ กำหนด
สำหรับการยื่นใบอนุญาตสโมสร บริษัท ไทย ลีก จำกัด ได้รับมอบหมายจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบการยื่นขอใบอนุญาตสโมสร (Club Licensing Administrator) ได้มีการจัดอบรม ประจำปี โดยให้สโมสรส่งเจ้าหน้าที่สโมสรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการยื่นขอใบอนุญาตสโมสร (Club Licensing Officer) เข้าร่วมอบรม เพื่อทำการชี้แจงสาระสำคัญในระเบียบ ขั้นตอน เงื่อนไข และเงื่อนเวลาตามข้อบังคับและรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไปในรอบปีที่เป็นมาตรฐานสำหรับการพิจารณาออกใบอนุญาตสโมสรฤดูกาล 2023/24 โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา สำหรับสโมสรที่ต้องการทำการแข่งขันในระดับ ไทยลีก 1 และไทยลีก 2 รวมไปถึงในวันที่ 3 มีนาคม 2566 สำหรับสโมสรในระดับ ไทยลีก 3 โดยเจ้าหน้าที่สโมสรต้องทำแบบทดสอบและผ่านแบบทดสอบสำหรับการการจัดทำเอกสารใบอนุญาตสโมสร และสโมสรต้องแจ้งความประสงค์ในการยื่นใบอนุญาตสโมสรในแต่ละระดับเป็นลายลักษณ์อักษร
ซึ่งหลังจากผ่านการอบรมทุกสโมสรจะต้องส่งเอกสารเข้ามายังระบบ AFC Club Licensing Administrative System (CLAS) ตามเงื่อนเวลาที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบฯ ซึ่งแบ่งออกเป็นดังนี้
หลักเกณฑ์ด้านกฎหมาย ด้านบุคลากร และด้านกีฬากำหนดการส่งเอกสารภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
หลังจากนั้นจะมีการพิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาออกใบอนุญาตสโมสร หรือ FIB ที่ได้จัดการประชุมและพิจารณาระดับ AFC ,T1 และ T2 วันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยผลการพิจารณามีดังนี้
ใบอนุญาตสโมสรในระดับ AFC
สโมสรที่ประสงค์จะยื่นทั้งหมด 10 สโมสร
สโมสรที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 9 สโมสรแต่ติดมาตรการตักเตือน ระดับ B Criteria ในเรื่องหลักเกณฑ์ด้านบุคลากรได้แก่
สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ,สโมสรราชบุรี เอฟซี ,สโมสรการท่าเรือ เอฟซี ,สโมสรเมืองทอง ยูไนเต็ด ,สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ,สโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ,สโมสรเชียงราย ยูไนเต็ด ,สโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด และ สโมสรชลบุรี เอฟซี
สโมสรที่ไม่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 1 สโมสร ได้แก่
สโมสรสุโขทัย เอฟซี เนื่องจากหลักเกณฑ์ด้านของโครงสร้างสนามแข่งขัน ไฟส่องสว่างที่ยังไม่ได้ตามมาตรฐานของ AFC แต่ทั้งนี้สโมสรสุโขทัย เอฟซี ผ่านหลักเกณฑ์มาตรฐานในไทยลีก 1
ใบอนุญาตสโมสรในระดับ Thai League 1
สโมสรที่ประสงค์จะยื่นทั้งหมด 16 สโมสร
สโมสรที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 8 สโมสร ได้แก่
สโมสรขอนแก่น ยูไนเต็ด ,สโมสรโปลิศ เทโร เอฟซี ,สโมสรเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ,สโมสรพีที ประจวบ เอฟซี ,สโมสรตราด เอฟซี ,สโมสรระยอง เอฟซี ,สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี และสโมสรแพร่ ยูไนเต็ด
สโมสรที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 8 สโมสร ได้แก่
สโมสรลำพูน วอริเออร์ เนื่องจากติดหลักเกณฑ์ในด้านของโครงสร้างสนามแข่งขันซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
ในฤดูกาลที่ผ่านมา สโมสรลำพูน วอริเออร์ ผ่านใบอนุญาตสโมสรในระดับ Thai League 1 โดยมีเงื่อนไขในการปรับปรุง สนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน (แม่กวง) ให้แล้วเสร็จและให้ใช้ สนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เป็นสนามสำรองจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2565 แต่หลังจากนั้นสโมสรลำพูน วอริเออร์ ได้ส่งหนังสือขอขยายเวลาในการใช้สนามสำรองจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด ได้อนุญาตเนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายต่อภาพรวมและการแข่งขัน แต่เป็นการผิดเงื่อนไขในการพิจารณาใบอนุญาตสโมสรของคณะกรรมการพิจารณาออกใบอนุญาตสโมสร (FIB) และในวันที่ 1 มีนาคม 2566 ซึ่งเข้าสู่การขอใบอนุญาตสโมสรในฤดูกาลหน้าแล้ว ไทยลีกได้จัดการประชุมนอกรอบชึ้แจงเรื่องเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในเรื่องหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้าง สำหรับสโมสรที่มีสิทธิลุ้นขึ้นชั้นระดับ Thai League 1 และในวันเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการพิจารณาออกใบอนุญาตสโมสร ได้ส่งจดหมายติดตามเงื่อนไขที่สโมสรแจ้งว่าจะทำการปรับปรุงสนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ให้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากสโมสร ทั้งนี้สโมสรในหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้างสนามหมดเขตส่งเอกสารวันที่ 31 มีนาคม 2566 สโมสรลำพูน วอริเออร์ ได้ยื่นสนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน (แม่กวง) เป็นสนามการแข่งขันหลัก ซึ่งผลจากพิจารณา ระบุว่า สโมสรจะต้องส่งเอกสารรับรองค่าไฟส่องสว่างสนามแข่งขันที่ถูกต้องและครบถ้วนตามระเบียบหรือส่งเอกสารสัญญาการจัดซื้อการจัดซื้อจัดจ้างให้ครบถ้วนตามระเบียบ โดยต้องระบุระยะเวลาแล้วเสร็จและพร้อมใช้งานก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พร้อมแผนดำเนินงานที่ระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน รวมไปถึงการส่งแผนการเพิ่มที่นั่งผู้ชมในสนามการแข่งขันโดยสามารถแบ่งเป็นระยะการทำงานได้ชัดเจน พร้อมแผนการปรับปรุงที่ระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ทั้งนี้ต้องมีการปรับปรุงตามแผนในระยะแรกของการปรับปรุงให้ปรากฏเห็นผลภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 และสโมสรลำพูน วอริเออร์ ไม่มีสิทธิ์ส่งสนามสำรองได้ จะต้องทำการปรับปรุงสนามให้เสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้เท่านั้น เนื่องจากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นควรให้มีบทลงโทษเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ไม่สามารถปรับปรุงสนามหลักให้แล้วเสร็จพร้อมใช้งานได้
สโมสรหนองบัว พิชญ เอฟซี ,สโมสรลำปาง เอฟซี และ สโมสรสมุทรปราการ ซิตี้ เนื่องจากติดหลักเกณฑ์ด้านอื่นๆโดยต้องส่งเอกสารภายใน 31 พฤษภาคม 2566
สโมสรนครปฐม ยูไนเต็ด และ สโมสรอุทัยธานี เอฟซีเนื่องจากติดหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้างสนามโดยสโมสรจะต้องส่งเอกสารรับรองค่าไฟส่องสว่างสนามแข่งขันและแผนการเพิ่มที่นั่งผู้ชมในการสนามการแข่งขันที่ถูกต้องและครบถ้วนตามระเบียบหรือส่งเอกสารสัญญาการจัดซื้อการจัดซื้อจัดจ้างให้ครบถ้วนตามระเบียบ โดยต้องระบุระยะเวลาการแล้วเสร็จพร้อมใช้งานก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พร้อมแผนดำเนินงานที่ระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน และต้องมีการปรับปรุงให้เป็นไปตามแผนในระยะแรกให้ปรากฏภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ และ สามารถส่งสนามสำรองที่ผ่านมาตรฐานระดับไทยลีก 1 และเป็นสนามที่ตั้งอยู่ ณ ภูมิลำเนาเดียวกับสนามเหย้าของสโมสร
สโมสรนครศรี ยูไนเต็ด และ สโมสรอยุธยา ยูไนเต็ดเนื่องจากติดหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้างสนามแต่ผ่านมาตรฐานในระดับไทยลีก 2
ใบอนุญาตสโมสรในระดับ Thai League 2
สโมสรที่ประสงค์จะยื่นทั้งหมด 9 สโมสร
สโมสรที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 6 สโมสร
ได้แก่ สโมสรแกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด ,สโมสรเชียงใหม่ เอฟซี ,สโมสรชัยนาท ฮอร์นบิล ,สโมสรคัสตอม ยูไนเต็ด ,สโมสรเกษตรศาสตร์ เอฟซี และสโมสรขอนแก่น เอฟซี
สำหรับสโมสรคัสตอม ยูไนเต็ดที่มีสิทธิ์ลุ้นเลื่อนชั้นขึ้นสู่ระดับไทยลีก 1 ในขณะนี้หากได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ระดับไทยลีก 1 จะไม่สามารถทำการแข่งขันในระดับไทยลีก 1 ได้เพราะสโมสรได้แจ้งความประสงค์ขอใบอนุญาตสโมสรมาเพียงระดับไทยลีก 2 เท่านั้น และจะเป็นทางสโมสรอุทัยธานี เอฟซี ได้เลื่อนชั้นแทน
สโมสรที่ไม่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 3 สโมสร
สโมสรอุดรธานี เอฟซี เนื่องจากติดหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้าง ด้านบุคลากร และด้านการเงิน อีกทั้งยังมีเคสในเรื่องของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ที่ยังต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมด 2 เคส และเคสภายในประเทศอีกจำนวน 20 เคส ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 และยังโดนแบนจากตลาดซื้อขายจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ
สโมสรฟุตบอลราชประชา และ สโมสรกระบี่ เอฟซีเนื่องจากติดหลักเกณฑ์ในด้านอื่นๆ โดยต้องส่งเอกสารเข้ามาภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
ทั้งนี้ในการพิจารณาใบอนุญาตสโมสรขึ้นอยู่กับ คณะกรรมการพิจารณาออกใบอนุญาตสโมสร (FIB) ที่สโมสรจะต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมเข้ามาตามที่ได้แจ้งผลการพิจารณาไปในครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566
{{val.time_create * 1000 | date : ‘dd/MM/yyyy HH:mm:ss’}} น.
แก้ไขเมื่อ {{val.time_update * 1000 | date : ‘dd/MM/yyyy HH:mm:ss’}} น.
Quote
{{v.time_create * 1000 | date : ‘dd/MM/yyyy HH:mm น.’}}
แก้ไขเมื่อ {{v.time_update * 1000 | date : ‘dd/MM/yyyy HH:mm น.’}}
Quote
0 && !val.replys” ng-click=”content.event.get_reply(val);”>
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})
เอฟเอตั้งข้อหาคูดุสอาจเจอโทษแบนเพิ่ม วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567
ผีทำทุกทางพร้อมปล่อยอันโตนี่สัญญายืม วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567
ปืนเอาด้วยประทับใจผลงานเอ็มเบอโม่ วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567
บรอยน์ อยากให้ลูกโตซานดีเอโกสละเรือสิ้นซีซั่น วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567
ยูเว่เอาแน่เตรียมเจรจาซื้อขาดคอนไซเซา วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567
ฟลิคไม่โอเคทัศนคติจับเดอย็องนั่งทั้งเกม วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567